วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

บทที่ 3

สรุปท้ายบทที่

โครงสร้างพื้นฐานทางไอที เกี่ยวข้องกับลงทุนด้านคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ เครือข่ายการสื่อสาร ระบบฐานข้อมูล และการบริหารจัดการสารสนเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการวางรากฐานงานบริการให้แก่ลูกค้า การทำงานร่วมกับผู้ขายปัจจัยการผลิต และการนำมาใช้เพื่อจัดการกระบวนการธุรกิจภายในองค์กร

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทางกายภาพของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย อุปกรณ์รับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำภายใน สื่อจัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์แสดงผล

ประเภทของคอมพิวเตอร์ จัดแบ่งตามระดับความสามารถประกอบด้วย ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มิดเรนจ์คอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์
Converging Technologies คือการหล่อหลอมรวมเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ด้วยการนำอุปกรณ์ดิจิตอลหลายๆ ประเภทมาผนวกเข้าเป็นชิ้นเดียวกัน พร้อมกับชิปไมโครโปรเซสเซอร์ ทำให้อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายวัตถุประสงค์ เช่น เครื่องพีดีเอ พ็อกเก็ตพีซี เป็นต้น
ซีพียู หรือ โปรเซสเซอร์ จัดเป็นหน่วยที่สำคัญมาก เปรียบเสมือนกับสมองของมนุษย์ ที่มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานและการประมวลผลข้อมูล

ผังรูปภาพบทที่ 3
วัฏจักรเครื่อง คือการทำงานของซีพียูในแต่ละรอบการทำงาน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการ Fetch -> Decode -> Execute -> store

สัญญาณนาฬิกา เป็นหน่วยวัดความเร็วในไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ความถี่สัญญาณนาฬิกาของไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งอยู่ที่ระดับ 1 GHz หมายถึงความสามารถในการประมวลผลได้ถึงหนึ่งพันล้านวัฏจักรเครื่องต่อวินาที
การประมวลผลแบบขนาน มีหลักการทำงานคือ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีซีพียูมากกว่า 1 ตัวและเมื่อโปรเซสใดๆถูกส่งเข้ามาประมวลผล จะถูกแบ่งให้ซีพียูแต่ละตัวช่วยกันประมวลผลในเวลาเดียวกันและท้ายสุดผลจากการประมวลผลของซีพียูแต่ละตัว ก็จะถูกนำมารวมกันเป็นผลลัพธ์
เทคโนโลยีมัลติคอร์ เป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไปในยุคปัจจุบัน ที่ซีพียูหนึ่งตัวจะมีแกนสมองตั้งแต่ 2 แกนขึ้นไปที่มีการประมวลผลอิสระกัน
กริดคอมพิวติ้ง เป็นการใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์จำนวนมาก รวมถึงทรัพยากรต่างๆไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลและทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์อื่นๆ โดยจะเชื่อมโยงกลุ่มทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์เหล่านี้เข้าด้วยกัน ที่เป็นได้ทั้งเครือข่ายส่วนตัว หรือเครือข่ายสาธารณะอย่างอินเทอร์เน็ต จยมีพลังในการประมวลผลแบบขนานเทียบเท่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อการบริการงานประมวลผลและแบ่งปันทรัพยากรให้แก่สมาชิกในการส่งงานขึ้นไปประมวลผล
คลาวด์คอมพิวติ้ง หรือการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ คือการนำคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ขนาดใหญ่มาบริการให้กับโฮสต์ เพื่อรันโปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการที่ผู้ใช้ระบุโดยการประมวลผลของคลาวด์คอมพิวติ้งจะอิงกับความต้องการของผู้ใช้เป็นสำคัญ

อุปกรณ์รับข้อมูล คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผล เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ สไตลัส ปากกาแสง เป็นต้น

อุปกรณ์แสดงผล เป็นอุกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธิ์จากการประมวลผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ และลำโพง
วิธีการเข้าถึงข้อมูล จะมีทั้งแบบเรียงลำดับ และแบบเข้าถึงโดยตรง

สื่อจัดเก็บข้อมูล เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูลเพื่อเก็บสำรองไว้ใช้งานอนาคต ตัวอย่าง เช่น เทป แม่เหล็ก ฮาร์ดดิสก์ ออปคัลดิสก์ และหน่วยความจำแบแฟลช เป็นต้น
การพิจารณาจัดเก็บข้อมูล ควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ของการนำมาใช้งาน
2. ปริมาณข้อมูลที่สามารถจัดเก็บได้
3. ความเร็วในการบันทึกและเรียกดูข้อมูล
4. ขนาดและความสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย
5. ต้นทุน
6. ความน่าเชื่อถือและความยาวนานในการเก็บรักษาข้อมูล
7. พิจารณาทั้งด้านดีและข้อจำกัด


กรณีศึกษา : บริษัท ChevronTexaco กับไอทีเพื่อจัดการโซ่อุปทาน
บริษัท
ChevronTexaco เป็นบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นบริษัทข้ามชาติที่มีธุรกิจหลักๆ คือ การขุดเจาะ การกลั่น การขนส่ง และการขายน้ำมัน จากสภาพการแข่งขันในธุรกิจนี้ การประหยัดต้นทุนน้ำมันในทุกๆ 25 เปอร์เซ็นต์ของเงินเพนนีต่อหนึ่งแกลอน เมื่อคิดโดยรวมแล้วจะช่วยประหยัดได้กว่าล้านเหรียญเลยทีเดียว
ปัญหาหลักๆ ที่ค้นพบในอุตสาหกรรมมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ
1. สถานีบริการหรือปั๊มน้ำมันไม่มีน้ำมันจำหน่าย เนื่องจากน้ำมันหมด (Run-outs)
2. การส่งมอบน้ำมันไปยังปั๊มน้ำมันถูกยกเลิก เนื่องจากแท็งค์กักเก็บน้ำมันของทางปั๊มยังคงมีน้ำมันสำรองเต็มอยู่ (Retain)
ทั้ง Run-outs และ Retain เป็นปัญหาที่อุตสาหกรรมน้ำมันรู้จักกันดีในนามของ ปัญหาคู่แฝดหรือ Twin Evils นั่นเอง ซึ่งในระยะหลายปีที่ผ่านมา ต่างก็มีเป้าหมายในการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น แต่ก็ประสบผลสำเร็จได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาทั้งสองได้นำไปสู่กระบวนการแก้ไขโดยโซ่อุปทาน ซึ่งกระบวนการไหลในโซ่อุปทาน เริ่มต้นจากการค้นหาแหล่น้ำมัน การขุดเจาะ การกลั่นโดยภายหลังจากน้ำมันได้ถูกดูดขึ้นมาจากได้พื้นดิน ก็จะถูกส่งมอบไปยังกระบวนการกลั่นน้ำมัน และถูกนำไปจัดเก็บ และสุดท้ายก็จะถูกส่งเพื่อขายไปยังปั๊มน้ำมันตามแต่ละสถานี จนกระทั่งขายปลีกให้แก่ลูกค้าในที่สุด ซึ่งกรอบเวลาสำหรับการดำเนินงานในโซ่อุปทานให้ทั่วถึงกันนั้น อาจจำเป็นต้องใช้เวลาหลายเดือนจนถึงเป็นปี ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ตั้ง ซึงหมายถึงการขนส่ง และในด้านอื่นๆ จากเหตุผลข้างต้น จึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับการนำส่วนประกอบทั้ง 3 ของโซ่อุปทาน อันได้แก่ การค้นหาแหล่งน้ำมัน (Upsteam), กระบวนการดำเนินการ (Internal) และกระจายน้ำมันไปยังสถานีบริการ (Downsteam) ให้มีความเข้ากัได้อย่างเหมาะสม
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทาง ChevronTexaco มุ่งเน้นการผลิตแบบจำนวนมาก และพยายามขายออกไปให้มากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์แบบ Supply-Driven หรือตามโมเดลแบบ Push นั่นเอง และปัญหาที่เกิดจากการนำกลยุทธ์นี้มาใช้ก็คือ ในบางครั้ง มีการผลิตน้ำมันมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น